สภาพทั่วไป | |
1.ด้านกายภาพ 1.1 ที่ตั้งของหมู่บ้านหรือชุมชนหรือตำบล ตำบลหนองไผ่ เป็นหนึ่งในสิบสองตำบลของอำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของอำเภอธวัชบุรี บนเส้นทางถนนสายร้อยเอ็ด - อาจสามารถ (ทางหลวงหมายเลข 2043) ห่างจากอำเภอธวัชบุรี 10 กิโลเมตร และห่างจากจังหวัดร้อยเอ็ด 7 กิโลเมตร สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 160 - 220 เมตร มีพื้นที่ ประมาณ 25.2 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 18,969 ไร่ โดยมีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ตำบลต่าง ๆ ดังนี้ - ทิศเหนือติดกับตำบลนิเวศน์ อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด -ทิศใต้ติดตำบลราชธานี อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด -ทิศตะวันออกติดกับตำบลอุ้มเม้าและตำบลเมืองน้อยอำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด - ทิศตะวันตกติดกับตำบลโนนรังและพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด |
|
1.2 ลักษณะภูมิประเทศ มีลักษณะภูมิประเทศโดยรวมส่วนใหญ่เป็นที่ดอน และที่ราบ เหมาะแก่การทำเกษตรกรรมและที่อยู่อาศัย ด้านทางทิศตะวันออกของตำบลในเขตหมู่ที่ 14,12,5 (บ้านหนองฮูน้อย,บ้านดอนพยอม,บ้านหลุบเลา) มีลำห้วยยางเฌอไหลผ่านเป็นเขตแดนระหว่างตำบลเมืองน้อย อำเภอธวัชบุรีกับเขตตำบลขี้เหล็ก และตำบลเมืองน้อย อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด นอกจากนี้ยังมีแหล่งน้ำตามธรรมชาติกระจายอยู่ทั่วไปเกือบทุกหมู่บ้าน 1.3 ลักษณะภูมิอากาศ ภูมิอากาศของตำบลหนองไผ่ จัดอยู่ในประเภทฝนเมืองร้อนเฉพาะฤดู สภาพอากาศโดยทั่วไปขึ้นอยู่กับอิทธิพลของลมมรสุม ฤดูฝนจึงมีฝนตกชุก ฤดูร้อนอากาศจะร้อนจัด ส่วนฤดูหนาวอากาศไม่หนาว ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน เป็นช่วงเปลี่ยนฤดูมรสุมตะวันออกเฉียง-เหนือเป็นลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ พื้นที่ได้รับรังสีจากดวงอาทิตย์มากขึ้น ในช่วงนี้อุณหภูมิโดยทั่ว ๆ ไปเริ่มสูงขึ้นและความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศต่ำ ทำให้อากาศร้อนจัดและแห้งแล้ง โดยจะร้อนมากที่สุดในเดือนเมษายนมีอุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุด 35.7 องศาเซลเซียส ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม เป็นช่วงที่ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ซึ่งพัดพาเอาความชุ่มชื้นจากมหาสมุทรอินเดียและพัดปกคลุมประเทศในช่วงนี้ มีอิทธิพลทำให้ท้องฟ้ามีเมฆมาก ฝนตกชุก ปริมาณน้ำฝนรวมต่อปี 1,342.1 มิลลิเมตร ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคม เป็นช่วงที่มีความกดอากาศสูงจากตอนเหนือของประเทศแผ่ลงมาปกคลุมประเทศ ทำให้ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดเอาความหนาวเย็นและแห้งแล้งมาจากประเทศจีน มีอิทธิพลทำให้อุณหภูมิลดต่ำลงและอากาศค่อนข้างแห้ง อุณหภูมิโดยเฉลี่ยในช่วงฤดูหนาวต่ำสุดเฉลี่ย 17.2 องศาเซลเซียส และมีความชื้นสัมพัทธ์ 61 - 66 เปอร์เซ็นต์ 1.4 ลักษณะของดิน ลักษณะของดินในพื้นที่เป็นดินร่วนปนทราย หรือดินร่วน เนื้อดินค่อนข้างเป็นทราย ความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างต่ำ เสี่ยงต่อการขาดน้ำในฤดูเพาะปลูก เหมาะแก่การทำนา ปลูกพืชไร่หรือพืชผักในฤดูแล้ง
1.5 ลักษณะของแหล่งน้ำ 1. มีลำน้ำธรรมชาติไหลผ่าน ได้แก่ ลำห้วยยางเฌอ ซึ่งเปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ที่ หล่อเลี้ยงเกษตรกรตำบลหนองไผ่ 2. มีหนองน้ำสาธารณะในพื้นที่ 11 แห่ง เหมาะสำหรับเพื่อการเกษตร และอุปโภค (ประปา) 1.6ลักษณะของไม้และป่าไม้ ลักษณะของป่าไม้โดยรวมเป็นป่าเบญจพรรณ ไม่มีพื้นที่ป่าสงวน จะมีแต่สวนป่าที่ เกษตรกรร่วมกันปลูกขึ้นตามที่สาธารณะของหมู่บ้าน ส่วนใหญ่จะเป็นไม้โตเร็ว |
|
2.ด้านการเมือง/การปกครอง เขตการปกครอง ตำบลหนองไผ่ ประกอบด้วยหมู่บ้าน ๑8 หมู่บ้าน อยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองไผ่ทั้งหมด 2,411ครัวเรือน ได้แก่ 1.หมู่ที่ 1 บ้านหนองทัพไทย จำนวน 112 ครัวเรือน 2.หมู่ที่ 2 บ้านหัวบ่อ จำนวน 106 ครัวเรือน 3.หมู่ที่ 3 บ้านกู่หนอง จำนวน 119 ครัวเรือน 4.หมู่ที่ 4 บ้านอุดม จำนวน 190 ครัวเรือน 5.หมู่ที่ 5 บ้านหลุบเลา จำนวน 210 ครัวเรือน 6.หมู่ที่ 6 บ้านก้างปลา จำนวน 161 ครัวเรือน 7.หมู่ที่ 7 บ้านหนองแข้ จำนวน 169 ครัวเรือน 8.หมู่ที่ 8 บ้านหนองเต่า จำนวน 226 ครัวเรือน 9.หมู่ที่ 9 บ้านหนองโสน จำนวน 125 ครัวเรือน 10.หมู่ที่ 10 บ้านเปลือยน้อย จำนวน 142 ครัวเรือน 11.หมู่ที่ 11 บ้านดอนกลอย จำนวน 143 ครัวเรือน 12.หมู่ที่ 12 บ้านพะยอม จำนวน 60 ครัวเรือน 13.หมู่ที่ 13 บ้านโพธิ์ชัย จำนวน 115 ครัวเรือน 14.หมู่ที่ 14 บ้านหนองฮูน้อย จำนวน 57 ครัวเรือน 15.หมู่ที่ 15 บ้านนาสมบูรณ์ จำนวน 157 ครัวเรือน 16.หมู่ที่ 16 บ้านหนองเต่า จำนวน 115 ครัวเรือน 17.หมู่ที่ 17 บ้านหนองแข้ จำนวน 103 ครัวเรือน 18.หมู่ที่ 18 บ้านก้างปลา จำนวน 101 ครัวเรือน
|
|
สภาพทางเศรษฐกิจ อาชีพ (แสดงอาชีพของประชากรในเขต อบต.) - ทำนา 1,432 ครัวเรือน คิดเป็น 50% - ฟาร์มหมู 29 ครัวเรือน คิดเป็น 15% - ฟาร์มไก่ 36 ครัวเรือน คิดเป็น 20% - ปลูกผัก 15 ครัวเรือน คิดเป็น 10 % |
|
หน่วยธุรกิจในเขต อบต. - ธนาคาร - แห่ง - โรมแรม 3 แห่ง - ปั๊มน้ำมนและก๊าซ 3 แห่ง - ปั๊มน้ำมันหลอด 8 แห่ง - โรงงานอุตสาหกรรม 3 แห่ง - โรงสี 28 แห่ง - อู่ซ่อมรถยนต์ 3 แห่ง - อู่ซ่อมมอเตอร์ไซด์ 3 แห่ง - ร้านค้าทั่วไป 85 แห่ง |
|
สภาพสังคม การศึกษา - โรงเรียนประถมศึกษา 4 แห่ง - โรงเรียนขยายโอกาส 1 แห่ง - โรงเรียนอาชีวศึกษา - แห่ง - โรงเรียน/สถาบันชั้นสูง - แห่ง - ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน/ห้องสมุดประชาชน - แห่ง สถาบันและองค์กรทางศาสนา - วัด/สำนักสงฆ์ 10 แห่ง - มัสยิด - แห่ง - ดอนปู่ตา 8 แห่ง - โบสถ์ - แห่ง การสาธารณสุข - โรงพยาบาลของรัฐขนาด - เดียง - แห่ง - สถานีอนามัยประจำตำบล/หมู่บ้าน 1 แห่ง - สถานพยาบาลเอกชน 1 แห่ง - ร้ายขายยาแผนปัจจุบัน - แห่ง - อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำ ร้อยละ 100% |
|
การบริการพื้นฐาน การคมนาคม (แสดงจำนวนและสภาพทางการคมนาคมทางบก) 1. ทางหลวงแผ่นดิน 1 สาย 2. ถนนลาดยาง รพช. 1 สาย 3. ถนนลาดยางเข้าหมู่บ้านหนองเต่า หมู่ที่ 8 ระยะทาง 4 กม. 1 สาย 4. ถนนลูกรังเชื่อมหมู่บ้านในตำบล 7 สาย การโทรคมนาคม - ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข - แห่ง - สถานีโทรคมนาคมอื่นๆ วิทยุ 1 แห่ง การไฟฟ้า (แสดงถึงจำนวนหมู่บ้านที่ใช้ไฟฟ้าเข้าถึงและจำนวนประชากรที่ใช้ไฟฟ้า) - ตำบลหนองไผ่ มีกระแสไฟฟ้าครบทุกหมู่บ้านแต่มีบางหมู่บ้านที่ประชาชนขยายบ้านเรือนออกไปนอกหมู่บ้าน จึงทำให้มีบางหลังคาเรือนที่ยังไม่มีไฟฟ้าใช้ และองค์การบริหารส่วนตำบลหนองไผ่ ได้จัดทำโครงการขยายเขตไฟฟ้าให้การสนับสนุนเงินอุดหนุนการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดร้อยเอ็ด เพื่อที่จะให้ประชาชนได้มีไฟฟ้าใช้ทุกครัวเรือน |
|
แหล่งน้ำธรรมชาติ - ลำน้ำ,ลำห้วย 2 สาย - บึง,หนอง และอื่น ๆ 21 แห่ง |
|
แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น - ฝาย 1 แห่ง - บ่อน้ำดิน 79 แห่ง - บ่อโยก 31 แห่ง - อื่น ๆ (ระบุ) - แห่ง |
|
ข้อมูลอื่น ๆ ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ (แสดงทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในเขต อบต.) - ทรัพยากรดิน ดินมีสภาพเป็นดินร่วนปรทรายบางแห่งเป็นดินเหนียวเหมาะแก่การเพาะปลูก - ทรัพยากรน้ำ ในพื้นที่ไม่มีแหล่งน้ำในการทำการเกษตร มีลำห้วย จำนวน 2 สาย และไม่สามารถกักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้งได้ - ทรัพยากรป่าไม้ มีน้อยส่วนใหญ่เป็นพื้นที่สาธารณะและถูกราฎรบุกรุกเพื่อใช้เป็นพื้นที่ทำกินและตัดไม้ใช้เป็นเชื้อเพลิง |
|
ศักยภาพขององค์การบริหารส่วนตำบล จำนวนบุคลากร จำนวน 99 คน - ตำแหน่งนายกองค์องค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 1 คน - ตำแหน่งรองนายกองค์องค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 2 คน - ตำแหน่งเลขาฯ นายกองค์องค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 1 คน - ตำแหน่งประธานสภาฯ จำนวน 1 คน - ตำแหน่งรองประธานสภาฯ จำนวน 1 คน - ตำแหน่งเลขานุการสภาฯ จำนวน 1 คน - ตำแหน่งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 18 คน - ตำแหน่งในสำนักปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 24 คน - ตำแหน่งในส่วนการคลัง จำนวน 10 คน - ตำแหน่งในส่วนโยธา จำนวน 10 คน - ตำแหน่งในส่วนการศึกษา จำนวน 12 คน ระดับการศึกษา - มัธยมศึกษา จำนวน 4 คน - อาชีวศึกษา จำนวน 12 คน - ปริญญาตรี จำนวน 36 คน - ปริญญาโท จำนวน 10 คน - อื่น ๆ (มศ.5) จำนวน 4 คน รายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบล - ประจำปีงบประมาณ 2557 - รายได้องค์การบริหารส่วนตำบลจัดเก็บเอง 254,979.63 บาท - รายได้ที่ส่วนราชการต่าง ๆ จัดเก็บให้ 14,865,586.78 บาท - เงินอุดหนุนทั่วไป 10,576,051.00 บาท - เงินอุดหนุนเฉพาะกิจ 1,370,629.00 บาท |
|
ศักยภาพของชุมชนและพื้นที่ 1. การรวมกลุ่มของประชาชนในพื้นที่ จำนวนกลุ่มทุกประเภท 30 กลุ่ม - กลุ่มออมทรัพย์ 18 กลุ่ม - กลุ่มปลาส้ม (หมู่ที่ 5) 1 กลุ่ม - กลุ่มปลาร้าบอง (หมู่ที่ 7) 1 กลุ่ม - กลุ่มทอผ้าฝ้าย (หมู่ที่ 7) 1 กลุ่ม - กลุ่มปลูกหม่อนเลี้ยงไหม 9 กลุ่ม (หมู่ที่ 1,2,4,5,6,11,18 ) และ หมู่ที่ 5,11 มีหมู่บ้านละ 2 กลุ่ม 2. จุดเด่นของพื้นที่ (ที่เอื้อต่อการพัฒนาตำบล) องค์การบริหารส่วนตำบลหนองไผ่มีศักยภาพที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาหลายประกา ดังนี้ - มีระบบไฟฟ้าใช้ทุกหมู่บ้าน - พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ลุ่มซึ่งเหมาะสมต่อพัฒนาให้ทำการเกษตรในฤดูแล้งได้ - มีประชากรในวัยทำงานที่มีความพร้อมที่จะทำงานถ้าหากมีการส่งเสริมให้มีการจ้างงานในพื้นที่ - พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มเหมาะแก่การทำการเกษตรตลอดทั้งปี |
|
ศักยภาพการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลหนองไผ่ 1. จุดแข็ง 1) อยู่ใกล้เมืองมีโอากาสรองรับความเจริญสูง, ได้รับรางวัลหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงระดับอำเภอ 2) มีแรงงานจำนวนมาก และราคาถูก 3) ความสงบปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 4) เป็นแหล่งผลิตพืชผลทางการเกษตร 5) เป็นชุมชนสงบ ประชาชนมีการอนุรักษ์รักษาขนบธรรมเนียมประเพณีได้เป็นอย่างดี 6) เป็นแหล่งท่องเที่ยวและประเพณีที่สำคัญ 7) กลุ่มอาชีพเข้มแข็ง 8) เป็นเขตพื้นที่โครงการ "หนึ่งใจ..เกษตรกร" ของมูลนิธิมิราเคิล ออฟไลฟ์ในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี 2. จุดอ่อน 1) มีปัญาหาภัยธรรมชาติน้ำท่วม/แล้ง เป็นประจำทุกปี 2) ระบบการบริหารจัดการน้ำในตำบลไม่ดีพอ 3) การเกษตรนิยมใช้สารเคมีจำนวนมาก 4) แรงงานขากทัดษะในการทำงาน 5) การคมนาคมไม่สะดวก 6) ผลผลิตทางเกษตรราคาต่ำ/ไม่จูงใจเกษตรกร 7) ประชาชนขาดโอกาสในด้านการศึกษา 8) ประชาชนขาดความรู้ความเข้าใจในการใช้เทคนิควิธีในการประกอบอาชีพ |
|
วันนี้ : | |
เมื่อวาน : | |
เดือนนี้ : | |
เดือนที่แล้ว : | |
ปีนี้ : | |
ปีที่แล้ว : | |
ทั้งหมด : | |