|
||
ภาษีที่ดิน 2657 ไม่มีแล้วลดหย่อน…เก็บเต็มแล้ว 100% ปีนี้ !!
|
||
วันที่ :
12/06/2567 07:58:27
|
||
|
||
|
||
รายละเอียด :
|
||
ภาษีที่ดิน 2657 ไม่มีแล้วลดหย่อน…เก็บเต็มแล้ว 100% ปีนี้ !! . สามารถเช็กอัตราภาษีที่ต้องชำระและรายละเอียดอื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่นี่ https://thelist.group/realist/blog/ร่างภาษีที่ดิน . “ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง” เป็นกฎหมายที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 13 มี.ค. 2562 และมีการเริ่มเก็บภาษีไปตั้งแต่ 1 ม.ค. 2563 แต่เนื่องด้วยสถานการณ์โควิด-19 ทำให้ทางรัฐบาลมีการปรับลดอัตราภาษี มาตั้งแต่ปี 2563 - 2566 ซึ่งมีการลดอัตราภาษีให้ถึง 90% (ในปี 2563 - 2565) นั่นหมายถึงให้เราจ่ายเพียงแค่ 10% และลด 15% ในปี 2566 ที่ผ่านมา . ในในปี 2567 นี้ รัฐบาลมีแนวทางการเก็บภาษีในอัตราที่จัดเก็บปัจจุบัน โดยจะจัดเก็บเต็ม 100% ไม่มีลดหย่อนให้ เหมือนกับปี 2565 ส่วนไทมน์ไลน์การดำเนินการจ่ายภาษี จะมีดังนี้ . - เมษายน 67 - อปท. แจ้งการประเมินภาษีให้ผู้เสียภาษีรับทราบ - มิถุนายน 67 - ผู้เสียภาษีดำเนินการชำระภาษีตามแบบแจ้งประเมิน . ทั้งนี้หากราคาภาษีเกิน 3,000 บาท สามารถขอผ่อนจ่ายได้ 3 งวด (เริ่มงวดที่ 1 เดือน มิ.ย. และสิ้นสุดงวดที่ 3 ก.ค.) โดยช่องทางการชำระ มีหลายช่องทางดังนี้ - ชำระที่ อปท. หรือ สำนักงานเขตนั้นๆ - หากเป็นในต่างจังหวัดสามารถชำระได้ที่ อปท ไม่ว่าจะ อบต., เทศบาล และ อบจ. - หากเป็นพื้นที่กรุงเทพฯ สามารถไปจ่ายได้ที่สำนักงานเขตที่ดินครับ . - สามารถชำระผ่านธนาคาร ก็ได้เช่นกัน - ผ่านตู้ ATM และเคาน์เตอร์ ของธนาคารกรุงไทยทุกสาขา - ชำระผ่านบาร์โค้ด หรือ QR Code, Internet Banking, Mobile Banking เข้าบัญชีของ อปท. นั้น . และภายในเดือนกรกฎาคม อปท. จะส่งจดหมายแจ้งเตือนภาษีค้างชำระ ให้กับคนที่ยังไม่ได้ชำระภาษี ซึ่งการจ่ายภาษีที่ดินเกินกำหนดเวลา จะต้องเสียภาษีค้างชำระ รวมทั้งเบี้ยปรับและเงินเพิ่มดังนี้ . เบี้ยปรับ - คิดเบี้ยปรับ 10% ของภาษีที่ค้างชำระ : หากชำระภาษีก่อนทาง อปท. ออกหนังสือแจ้งเตือน - คิดเบี้ยปรับ 20% ของภาษีที่ค้างชำระ : หากชำระภายในวันที่หนังสือแจ้งเตือนกำหนด - คิดเบี้ยปรับ 40% ของภาษีที่ค้างชำระ : มาชำระภายหลังกำหนดในหนังสือแจ้งเตือน . ทั้งนี้จะถ้าหากไม่ได้ชำระภาษีในเวลาที่กำหนด จะต้องเสียเงินเพิ่มอีก 1% ต่อเดือนของจำนวนภาษีค้างชำระ โดยนับจากวันที่พ้นกำหนดเวลาชำระภาษี จนถึงวันที่มีการชำระภาษี แต่ต้องไม่เกินกว่าจำนวนภาษที่จ่าย . เรียกว่ามีช่องทางการชำระ ก็มีหลากหลายช่องทางให้เลือกกันเลย ที่สำคัญอย่าลืมเช็คความถูกต้องของแบบแจ้งการประเมินภาษี และดูกำหนดจ่ายภาษีที่ดินก่อนจ่ายจริงกันด้วยนะครับ . #ภาษี #ภาษีที่ดิน #ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง #อสังหาริมทรัพย์ #ที่ดิน |
||
วันนี้ : | |
เมื่อวาน : | |
เดือนนี้ : | |
เดือนที่แล้ว : | |
ปีนี้ : | |
ปีที่แล้ว : | |
ทั้งหมด : | |